โครงการบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์
21:40 เขียนโดย QA Optimization - Performance and Stability
การบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ เป็นโครงงานเพื่อทำการบำรุงรักษาระบบต่าง ๆ อาทิ ระบบสารสนเทศ ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ทั้งในส่วนของ Hardware และ Software ของกรม ทรัพยากรน้ำบาดาลและหน่วยงานภายใต้สังกัด เพื่อให้ระบบดังกล่าวสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมทั้งพัฒนาและปรับปรุงระบบเครือข่ายสารสนเทศให้มีศักยภาพในการเชื่อมโยง การรับส่งข้อมูล ระหว่างส่วนกลางและภูมิภาค ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักสำคัญในการบูรณาการข้อมูลตามนโยบายภาครัฐ (E-Government)
การ บำรุงรักษาระบบสารสนเทศ เป็นงานหลักในการบำรุงรักษาอุปกรณ์ และระบบสารสนเทศต่าง ๆ ให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง เพราะการที่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ได้รับการพัฒนาและบำรุงรักษาที่ดี อาจส่งผลให้ระบบไม่สามารถทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพ ( ฮาร์ดแวร์และระบบเครือข่าย ) ไม่มีความน่าเชื่อถือ ( ข้อมูลสารสนเทศ ) และไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งาน (Software) ซึ่ง มีผลทำให้องค์กรไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งผู้บริหารไม่สามารถกำหนดนโยบายและตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.1.1. Hardware breakdown ( อุปกรณ์เกิดความเสียหาย ) อุปกรณ์ Hardware ถึง แม้จะมีความน่าเชื่อถือมาก แต่บางครั้งอาจเกิดความเสียหายผิดพลาดในการทำงานได้ เช่น อุปกรณ์เกิดการเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน เป็นต้น ดังนั้นเราจึงสามารถเลือกวิธีดำเนินการเพื่อลดระยะเวลาที่เครื่องจะหยุดการ ทำงานได้
• บริการภายใน กิจการควรมีหน่วยงานซ่อมบำรุงภายใน และสามารถขยายขีดความสามารถขององค์กรได้
• ใช้บริการจากภายนอก โดยกำหนดค่าดูแล Hardware จากผู้จำหน่าย Maintenance Contract (per call ,per year / Preventive Maintenance)
• บริการแบบผสมผสานใช้วิธีการที่ 1 และ 2 ผสมผสานกัน ทั้งนี้เพื่อการเหมาะสมกับองค์กรและการดำเนินงาน
1.1.2 . Software Maintenance การบำรุงรักษา Soft ware คือการกระทำต่อระบบ หรือ โปรแกรมที่ใช้งานอยู่แบ่งเป็น 4 ชนิด คือ
• Corrective Maintenance แก้ไขจุดบกพร่อง (Bug) ให้ถูกต้องตามข้อกำหนดที่เคยตั้งไว้
• Adaptive Maintenance ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานแวดล้อมปัจจุบัน
• Upgrading ยกระดับให้ใช้งานได้ เกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยน Hardware , System , Software และอื่น ๆ
• Enhancing เสริมเพิ่มเติม เกิดขึ้นเมื่อมีความต้องการใหม่ ๆ เกิดขึ้นและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบ
1.1.3. Maintenance redevelopment life cycle ( วงจรของการบำรุงรักษา และการ พัฒนาระบบใหม่ )
1.1.4. Software Maintenance Management ( การจัดการบำรุงรักษาระบบ )
1.1.5. System Efficiency Enhancement ( การพัฒนาและปรับปรุงเพื่อเพิ่ม ประ สิทธิภาพระบบสารสนเทศ ให้สามารถรองรับการบูรณาการข้อมูลจากส่วน ภูมิภาคเข้าสู่ส่วนกลาง )
1.1.6. ในองค์กรที่มีการใช้ IT ในการพัฒนาจำเป็นต้องวางแผนการจัดการการบำรุงรักษา ดังต่อไปนี้
• การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลกรให้มีหน้าที่ดูแลการ บำรุงรักษา
• ดูแลการจัดทำสัญญาเรื่องการบำรุงรักษาระบบและประสานงาน
• กำหนดนโยบายการคิดค่าใช้จ่าย การให้บริการบำรุงรักษาต่อหน่วยงาน ในสังกัดอื่นอย่างชัดเจน เพื่อผลของการประเมิน
• กำหนดขั้นตอนและลำดับความสำคัญของการบำรุงรักษาแต่ละแบบ
รวม ทั้งการบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ซึ่งในการดำเนินการนี้เป็นการบำรุงรักษา และการพัฒนาและปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศซึ่งประกอบด้วย คอมพิวเตอร์แม่ข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย อุปกรณ์ระบบเครือข่ายและอุปกรณ์ต่อพ่วง อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายรวมถึง Software ต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและลูกข่ายเพื่อให้รองรับการใช้งานได้อย่างต่อ เนื่องและสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาอุปกรณ์ดังกล่าวให้สามารถใช้งานได้ อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
1.2 วัตถุประสงค์
เพื่อบำรุงรักษาระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้ง Hardware และ Software ของระบบงานโครงการบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์
สถานภาพของโครงการ
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
• บำรุงรักษาระบบสารสนเทศ
• บำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
• ระบบสารสนเทศของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลสามารถบูรณาการข้อมูลจาก ส่วนกลาง และภูมิภาค
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
• ทำให้การปฏิบัติงานขององค์กรเป็นมาตรฐานเดียวกัน เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมี ประสิทธิภาพ
• ระบบเครือข่ายขององค์กรมีความสะดวกรวดเร็วและรองรับปริมาณงานในอนาคต ได้ถึง 85 เปอร์เซ็นต์
• การ ส่งข้อมูลจากส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคมีความถูกต้อง สะดวกรวดเร็ว ทัน เหตุการณ์ ซึ่งทำให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการตัดสินใจที่ถูกต้อง และทันเหตุการณ์
ตัวชี้วัดเชิงค่าใช้จ่าย
• สามารถประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อฮาร์ทแวร์และซอฟท์แวร์ใหม่
ตัวชี้วัดเชิงเวลา สามารถลดระยะเวลาในการปฏิบัติงานและการแก้ไขปัญหาของงานได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์
1.3 จุดมุ่งหมาย
• เพื่อให้การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ภายในห้อง Server ณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่
• เพื่อให้มีผู้ให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาการดำเนินการจัดทำการสำรองข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์
1.4 ขอบเขตการดำเนินงานการบำรุงรักษา
การบำรุงรักษาระบบสารสนเทศนั้น ต้องมีวิธีการและแผนที่ถูกต้องในการดำเนินการ ได้แก่ การบำรุงรักษาเพื่อความถูกต้อง ( Corrective Maintenance ) และการบำรุงรักษาเพื่อความสมบูรณ์ ( Perfective Maintenance) ทั้งนี้ส่วนใหญ่ระบบสารสนเทศที่ใช้ จะได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่ตามความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งย่อมจะยังคงมีข้อผิดพลาด (Errors) หลงเหลืออยู่และเมื่อมีการใช้งานไประยะหนึ่ง ย่อมต้องมีการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและ สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น
วิธีการดำเนินงาน
ใช้แรงงาน (ร้อยละ 50) และใช้เครื่องมืออุปกรณ์ (ร้อยละ 50)
วิธีการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศที่ควรนำมาใช้ คือ Structured Maintenance ซึ่ง ต้องอาศัย การออกแบบ และกำหนด มาตรฐานและทิศทางการพัฒนาโครงสร้างทางด้านสารสนเทศ ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล และศูนย์ทรัพยากรน้ำบาดาลภาค ประกอบเพื่อให้สามารถอ้างถึงการบำรุงรักษาและ การพัฒนา ปรับปรุงระบบ รวมทั้งการจัดทำคู่มือการใช้งานระบบภายหลังจากการปรับปรุงระบบสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อลดความสับสนของผู้ใช้งานและเพื่อให้สามารถใช้งานระบบได้อย่างเต็ม ประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดในระยะยาวต่อไป โดยแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้
1. ตรวจเช็คสถานภาพของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล และหน่วยงานภายใต้สังกัด ที่ใช้งานปัจจุบัน
2. จัดทำแบบสอบถามความต้องการของผู้ใช้ระบบ ( User Requirement )
3. ศึกษาความเป็นไปได้จากข้อมูลการตรวจเช็คสถานภาพและแบบสอบถามเพื่อนำมาวิเคราะห์
4. ทำการออกแบบระบบเพื่อดำเนินงานในการบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ และพัฒนา ติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
5. นำระบบที่ได้มาทำการประมวลผล พร้อมทั้งขอความสนับสนุนในการดำเนินงาน
6. ทำการทดสอบพร้อมดำเนินการ
7. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบต่อไป
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านการสนับสนุนและอำนวยการ และการบูรณาการข้อมูลทั้งหมดของกรมทรัพยากรนํ้าบาดาล
2. ทำให้การปฏิบัติงานขององค์กรเป็นมาตรฐานเดียวกัน เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
3. ระบบเครือข่ายขององค์กรมีความสะดวกรวดเร็วและรองรับปริมาณงานในอนาคต
4. สามารถลดระยะเวลาในการปฏิบัติงานและการแก้ไขปัญหาของงาน
5. สามารถประหยัดงบประมาณรายจ่ายขององค์กรในระยะยาว
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น