ทำการแบ็คอัพ System State / การรีสโตร์ System State

21:57 เขียนโดย QA Optimization - Performance and Stability

ขั้นตอนที่ 1. รวบรวมรายละเอียดเซิร์ฟเวอร์
System State ของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ คือ ข้อมูลต่างๆ ของระบบ เช่น Registry, COM Wass Registration database และ System boot file ถ้าเป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะรวมถึง Certificate Service database ถ้าเป็นโดเมนคอนโทรลเลอร์จะรวมถึง Active Directory services database และ SYSVOL directory ด้วย โดยขั้นแรกให้รวบรวมเซิร์ฟเวอร์ Windows Server 2003 ที่ต้องทำการแบ็คอัพ System State โดยในที่นี้มีจำนวน 8 ตัว คือ

1. WSVR1 เป็น Domain Controller / DNS Server หมายเลขไอพี 192.168.2.9
2. WSVR2 เป็น Domain Controller หมายเลขไอพี 192.168.1.176
3. WSVR3 เป็น Domain Controller หมายเลขไอพี 192.168.2.6
4. WSVR4 เป็น Member Server / File Server หมายเลขไอพี 192.168.2.7
5. WSVR5 เป็น Domain Controller / File Server หมายเลขไอพี 192.168.2.8
6. WSVR6 เป็น Member Server / ISA Server หมายเลขไอพี 192.168.2.3
7. WSRV7 เป็น Member Server / Web Server / Ghost Server หมายเลขไอพี 192.168.2.1
8. WSVR8 เป็น Member Server / Print Server หมายเลขไอพี 192.168.2.2

ขั้นตอนที่ 2. ทำการแบ็คอัพ System State
การแบ็คอัพ System State ของ Windows Server 2003 นั้นจะตั้งเวลาให้ทำการแบ็คอัพโดยอัตโนมัติทุกๆ วัน ในเวลา 2.00 น. - 4.00 น.

ขั้นตอนที่ 3. การจัดเก็บไฟล์แบ็คอัพ System State บนไฟล์เซิร์ฟเวอร์
การ จัดเก็บไฟล์แบ็คอัพ System State บนไฟล์เซิร์ฟเวอร์นั้น ให้ทำการจัดเก็บแยกเป็นเดือนๆ ไว้ที่แชร์โฟลเดอร์ \\Wsvr3\temp$\”Folder”\”Server Name” โดยให้ตั้งชื่อ “Folder” ในรูปแบบ “เดือนที่_ชื่อย่อของเดือนตัวเลขสองตัวหลังของ ค.ศ._ST” เช่น 03_MAR09_ST โดยบันทึกเฉพาะไฟล์แบ็คอัพ System State ของเซิร์ฟเวอร์ตัวที่มีความสำคัญ ในที่นี้คือเซิร์ฟเวอร์ WSVR1, WSVR2, WSVR3, WSVR4, WSVR5, WSVR6 และ PRINTSVR1

ขั้นตอนที่ 4. การบันทึกไฟล์แบ็คอัพ System State ลงแผ่นดีวีดี
การ บันทึกไฟล์แบ็คอัพ System State ลงแผ่นดีวีดีนั้น ให้ดำเนินการเดือนละครั้ง โดยให้บันทึกไฟล์ Readme.txt ซึ่งบรรจุรายละเอียดเกี่ยวกับด้านต่างๆ เช่น System Configuration, วันที่อ้างอิงรหัสผ่านของAdministrator และข้อมูลอื่นๆ ตามความเหมาะสม

เมื่อ ทำการบันทึกลงแผ่นดีวีดีเสร็จแล้วให้ตรวจสอบความเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการลบไฟล์แบ็คอัพ System State ที่บันทึกแล้วออกจากไฟล์เซิร์ฟเวอร์

ขั้นตอนที่ 5. การรีสโตร์ System State
การรีสโตร์ System State จะดำเนินการในกรณีต้องการกู้คืนระบบเมื่อระบบมีปัญหาเท่านั้น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น